2.1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน หรือสภาพแวดล้อมภายใน (จุดอ่อน จุดแข็ง) จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงจุดเด่น และข้อเสียเปรียบของหมู่บ้าน
(1) จุดอ่อนWeakness คือ ลักษณะหรือข้อด้อยของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น
(เป็นปัจจัยภายในที่หมู่บ้านสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้)
•ด้านเศรษฐกิจ
ปัญหา
-
ไม่มีที่ดินทำกิน ที่ทำกินไม่เพียงพอ
- การว่างงานของประชากรในพื้นที่
- ผลิตผลราคาถูก
-
ขาดเงินทุน
อุปสรรค
- ทำให้การทำอาชีพเกษตรไม่พอกิน
- การเลือกงาน
ขาดความรู้ความสามารถเฉพาะงานที่รับสมัคร
- ขาดความรู้ด้านการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต
- ไม่มีเงินทุนในการประกอบอาชีพ
•ด้านสังคม
(เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ
ผู้ด้อยโอกาสการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม)
ปัญหา
- เด็กกำพร้า
- เด็กติดสิ่งเสพติด ( เช่น บุหรี่ , ใบกระท่อม
เป็นต้น )
- ผู้สูงอายุขาดผู้ดูแล
- ครอบครัวแยกกันอยู่
- ความแตกแยกของประชาชนในหมู่บ้าน เช่น
เลี้ยงเป็น
อุปสรรค
- พ่อแม่แยกทาง/พ่อแม่เสียชีวิต
- พ่อแม่ขาดการเอาใจใส่
- ไม่มีผู้ดูแลผู้สูงอายุ
- เครียดจากสภาวะเศรษฐกิจ และการตกงาน
-
การแบ่งฟักแบ่งฝ่ายสืบเนื่องมาจากปัญหาทางการเมือง
•ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปัญหา
-
สภาพดินที่ทำกินของประชาชนมีความเป็นกรด/ด่าง
- สภาพดินที่ทำกินเสื่อมโทรมและขาดธาตุในดิน
- สภาพแหล่งน้ำเสื่อมโทรม
อุปสรรค
- ขาดการดูแลเอาใจใส่ในสภาพของดิน
-
ขาดการสร้างจิตสำนึกในการร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- ขาดการดูแล
และการรณรงค์การใช้แหล่งน้ำอย่างถูกต้อง
•ด้านความมั่นคง
และความสงบเรียบร้อย
ปัญหา
-
มีอาณาเขตของหมู่บ้านที่ยาว และขนาดกว้าง
-
มีเส้นทางเข้าออกหมู่บ้านอยู่หลายเส้นทาง
-
มีประชากรจำนวนมาก
อุปสรรค
- การปกครองไม่ทั่วถึง
- ควบคุมและตรวจสอบดูแลบุคคลที่เข้าออกลำบาก
- การปกครองของผู้นำหมู่บ้านไม่ทั่วถึง
•ด้านการเมืองและบริหารจัดการ
ปัญหา
- การแบ่งหน้าที่ของผู้นำในพื้นที่ทับซ้อนกัน
- การแบ่งหน้าที่ปกครองยังไม่เป็นระบบเท่าที่ควร
- การจัดการด้านต่างๆ ยังเป็นไปด้วยความล่าช้า
อุปสรรค
- ผู้นำในหมู่บ้านทำงานไม่เป็นเอกภาพ
- ทำหน้าที่การปกครองไม่ทั่วถึง
- ทำงานล่าช้า
และไม่รวดเร็ว
(2) จุดแข็งStrength
คือ ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น
(เป็นปัจจัยภายในที่หมู่บ้านสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้)
• ด้านเศรษฐกิจ
ศักยภาพ
- มีตลาดนัดชายแดนที่เป็นแหล่งจับจ่ายใช้สอยของ ประชาชนในพื้นที่ และต่างประเทศ
-
มีแหล่งผลิตกรงนกแหล่งใหญ่ที่นำไปจำหน่ายตลาด ในพื้นที่ และต่างประเทศ
- มีกลุ่มผู้ค้าขายในชุมชนตลาดที่มีความแน่นแฟ้น
- ผู้คนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมีอาชีพค้าขาย
ความสามารถของหมู่บ้าน
- มีการจับจ่ายใช้สอยอย่างมีคุณภาพ
- สามารถผลิตได้ตามความต้องการของตลาด
และผู้บริโภค
-
กลุ่มผู้ค้าขายในชุมชนสามารถหาแหล่งเงินทุนได้เอง
- กลุ่มผู้ค้าขายมีความสามารถในการนำเสนอผลิตผลได้เอง
- กลุ่มผู้ค้าขายมีความเข็มแข็ง
และมีการรวมตัวเป็นกลุ่มผู้ค้าขาย
•ด้านสังคม(เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส การศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม)
ศักยภาพ
- ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการพัฒนา
-
ประชาชนส่วนใหญ่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
-
กิจกรรมของหมู่บ้านชาวบ้านจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
- เป็นชุมชนที่มีสภากาแฟหรือ“กือดาแต” เป็นที่ปรึกษา
ความสามารถของหมู่บ้าน
- มีวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย
- สามารถสนองตอบความต้องการของสังคมได้
- เป็นชุมชนเข็มแข็งตามวิถีทางระบอบประชาธิปไตย
-
ความเป็นกันเองของราษฎรในหมู่บ้าน
•ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ศักยภาพ
- ทรัพยากรที่มีอยู่มีจำนวนจำกัดเหมาะสม กับความต้องการของหมู่บ้าน
- การใช้ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมของประชาชน ในหมู่บ้านใช้อย่างมีระบบ
-
สิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปมีความเหมาะสมกับการใช้
ความสามารถของหมู่บ้าน
- ประชาชนในหมู่บ้านสามารถจัดระบบได้เอง
-
การจัดระบบทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม โดยผู้นำท้องที่ , ผู้นำท้องถิ่น ,
ผู้นำจิตวิญญาณ และผู้นำธรรมชาติเป็นไปตามระบบ
- การจัดระบบการใช้ทรัพยากร
และสิ่งแวดล้อมจะจัดการใช้ตามวัตถุประสงค์ของหมู่บ้าน
•ด้านความมั่นคง และความสงบเรียบร้อย
ศักยภาพ
-
ปกครองหมู่บ้านโดยผู้นำหมู่บ้านที่เข้มแข็ง
-
หมู่บ้านสร้างความปลอดภัยโดยมีชุด ชรบ. หมู่บ้าน
- มีความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
- มีทางเข้าหมู่บ้านเพียงไม่กี่เส้นทาง
ความสามารถของหมู่บ้าน
- ปกครองหมู่บ้านด้วยตนเอง
- มีฐาน ตชด.ที่ ๔๔๑๒
- มีสถานีตำรวจภูธรตำบลมูโนะ
- มีฐานปฏิบัติการชุดคุ้มครองตำบล (ชคต.)
- มีชุด ชรบ. หมู่บ้าน
คอยเฝ้าระวังสถานที่ราชการยามค่ำคืน
•ด้านการเมืองและการบริหารจัดการ
ศักยภาพ
-
การจัดการปัญหาต่างๆของหมู่บ้านเป็นไปตามระบบ
-
คดีข้อพิพากษ์ภายในหมู่บ้านจัดการโดยสันติวิธี
- การจัดการเรื่องต่างๆ
จะจัดการโดยวิธีที่เหมาะสม
ความสามารถของหมู่บ้าน
-
สามารถจัดการปัญหาต่างๆได้เอง
-
หมู่บ้านมีผู้ที่มีความสามารถที่จะตัดสินปัญหาต่างๆ
- การจัดการ ต้องผ่านกระบวนการของคณะกรรมการหมู่บ้าน อพป.
2.2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก
หรือสภาพแวดล้อมภายนอก จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงโอกาสและอุปสรรคการทำงานของหมู่บ้าน
(1)
โอกาส
Opportunity (ปัจจัยภายนอกที่เป็นผลบวกที่หมู่บ้านไม่สามารถควบคุมได้)
-เตรียมจัดกิจกรรมถนนคนเดินตลาดมูโนะ
บริเวณถนนรอบตลาดมูโนะตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าและการท่องเที่ยวในพื้นที่ตลาดมูโนะ
ซึ่งเป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าชายแดนชื่อดังของอำเภอสุไหงโก-ลก
โดยจะเปิดงานทุกวันจันทร์ของสัปดาห์
(2) อุปสรรคThreat (ปัจจัยภายนอกที่เป็นผลลบที่หมู่บ้านไม่สามารถควบคุมได้)
-สำหรับสินค้าที่จะมาออกร้านจำหน่าย
มีจำนวน 140 บูธ
โดยแยกเป็นประเภทอาหารท้องถิ่น
ขนมพื้นบ้าน และเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ อาทิ เสื้อผ้า
เครื่องแต่งกาย รองเท้า ทั้งของใหม่และมือสองมากมาย จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมชม
ชิม ช้อป สินค้าและอาหารในงานถนนคนเดินตลาดมูโนะ เพื่อเป็นกำลังใจให้พ่อค้า แม่ค้า
จากในพื้นที่อำเภอสุไหงโก-ลก ที่มาร่วมออกร้านกันเป็นครั้งแรก
2.3เป้าหมายการพัฒนา
(วิสัยทัศน์ , Vision) ของหมู่บ้าน
(เป้าหมายการพัฒนา คือ
เป้าหมายในอนาคตที่หมู่บ้านต้องการที่จะเป็น)
ตัวอย่าง
- เป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด
พึ่งพาตนเองตามวิถีพอเพียง
-
หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์/ เชิงวัฒนธรรม/ เชิงวิถีเกษตรอินทรีย์
บ้านมูโนะน่าอยู่ ประตูการค้าชายแดน
ดินแดนแห่งศิลปวัฒนธรรม
ก้าวหน้าการบริหาร
เด่นเรื่องกีฬา ปวงประชาร่มเย็น
2.4 โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบูรณาการวางแผนงาน (CIA)
หมู่บ้านสามารถนำโปรแกรม CIA มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของหมู่บ้าน
เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาและจุดเด่นของหมู่บ้านได้ โดยการใช้ฐานข้อมูล จปฐ. และ
กชช.2ค. กรอกลงในโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งโปรแกรมจะวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 5 ด้าน ได้แก่
การพัฒนาด้านอาชีพ การจัดการทุนชุมชน การจัดการความเสี่ยงชุมชน
การแก้ปัญหาความยากจน การบริหารจัดการชุมชน
การใช้โปรแกรมดังกล่าวนอกจากเพื่อการวิเคราะห์สภาพความเป็นจริงของหมู่บ้านแล้ว
ยังสามารถวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการทำSWOT เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์และตรงตามข้อเท็จจริงมากที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น